วันพุธที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561

Learning log 13



วันที่ 22 พฤศจิกายน 2561

Learning log 13


   สำหรับวันนี้อาจารย์ได้ให้นำแผนผังความคิดที่ได้มอบหมายงานให้ทำ มาตรวจดูความถูกต้องและนำไปแก้ไขเพื่อทำแผนการสอนเสริมประสบการณ์ ซึ่งกลุ่มดิฉันได้ทำใน หน่วย ยานพาหนะ และอาจารย์ได้สอนเรื่องการใช้โปรแกรมทำวีดีโอ 





ประเมินตนเอง : เข้าเรียนตรงตามเวลาและตั้งใจเรียนค่ะ

ประเมินเพื่อน : เพื่อนตั้งใจเรียนดีคะ แต่วันนี้ขาดเรียนค่อนข้างเยอะ

ประเมินอาจารย์ : อาจารย์แนะนำในการเขียนแผนเสริมประสบการณ์ได้เข้าใจคะ และให้นักศึกษาได้ออกความคิิดเห็นในการเรียนค่ะ

วันศุกร์ที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561

Learning log 12


วันที่ 14  พฤศจิกายน  2561


Learning log 12 



      วันนี้อาจารย์ได้พาไปจัดกิจกรรมบ้านนักวิทย์ให้กับเด็กๆที่มูลนิธิเด็กออ่นในสลัมซอยเสือใหญ่ กิจกรรมมีทั้งหมด 5 ฐาน ได้แก่

1.  กิจกรรม  ปั้มขวดและลิปต์เทียน
2.  กิจกรรม  ลูกโป่งพองโต 
3.  กิจกรรม  เรือดำนำ 
4.  กิจกรรม  Shape of  Bub-Bub Bubble
5.  กิจกรรม  ลาวาปะทุ ภูเขาไฟระเบิด

  โดยแบ่งเด็กออกเป็น 5 กลุ่ม แล้วให้เด็กวนเล่นทีละฐานต่อๆกัน เมื่อทดลองเสร็จแล้วก็จะทำกิจกรรมร้องเพลงรอกลุ่มอื่นๆเมื่อทุกกลุ่มพร้อมแล้วก็จะเดินวนฐานเปลี่ยนกันไปตามเข็มนาฬิกา

















ประเมินตนเอง : ดิฉันชอบและสนุกกับกิจกรรมที่จัดให้กับเด็กๆในวันนี้ และดิฉันทำเต็มที่ที่สุด

ประเมินเพื่อน : เพื่อนทำกิจกรรมกันได้ดีคะ ตั้งใจและสามัคคีกันดีคะ

ประเมินอาจารย์ : อาจารย์ติดต่อสถานที่จัดกิจกรรมให้ และยังดูแลนักศึกษาเป็นอย่างดีคะ

วันจันทร์ที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561

Learning log 11



วันที่  8 พฤศจิกายน 2561

Learning log 11 

    สำหรับวันนี้เป็นการเรียนชดเชย อาจารย์ได้ให้นักศึกษาเขียนแผนการจัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์มากลุ่มละ 1 หน่วยการเรียนรู้  แต่ให้ร่างหน่วยการเรียนรู้เป็นแผนผังความคิดและส่งทางเมล






                                      file:///C:/Users/hp/Downloads/งานหน่วยพาหนะ.pdf



ประเมินตนเอง : ดิฉันรับงานจากอาจารย์แล้วรีบมาทำ เสร็จแล้วจึงส่งเมลในวันนั้น และเข้าเรียนตรงเวลาคะ

ประเมินเพื่อน : เพื่อนมาเรียนกันเยอะคะ มีขาดเพียงบางคน

ประเมินอาจารย์ : อาจารย์อธิบายงานได้รวดเร็วเข้าใจง่ายและมีเวลาให้นักศึกษาได้ปรึกษาลงมือทำคะ

Learning log 10


วันที่ 7 พฤศจิกายน  2561

Learning log 10 

   สำหรับวันนี้เป็นการนำวีดีโอของนักศึกษาแบบกลุ่มมาให้อาจารย์แนะนำข้อปรับปรุง ทั้งหมดมี 5 กลุ่มดังนี้


กลุ่มที่ 1  เรื่อง Shape of  Bub-Bub Bubble







กลุ่มที่ 2 เรื่อง ลาวาปะทุ ภูเขาไฟระเบิด





กลุ่มที่ 3 เรื่อง ลูกโป่งพองโต





กลุ่มที่ 4 เรื่อง เรือดำน้ำ




กลุ่มที่ 5 เรื่อง ปั้มขวดและลิปต์เทียน





สิ่งที่ต้องปรับแก้ 

1. ขั้นตอนควรมีไม้ชี้ และควรกระชับ

2. ควรมีภาชนะใส่ของที่อาจต้องตักหรือตวง เช่น กล่องใส่ผงฟู  ถ้วยใสใส่น้ำยาล้างจาน

3. การตั้งประเด็นปัญหา และการพูดกระตุ้นเด็ก

4. การพูดสรุป 


ประเมินตนเอง : ดิฉันมาเรียนตรงเวลา และช่วยอาจารย์ถือกระเป๋าขึ้นมาบนห้องค่ะ

ประเมินเพื่อน : เพื่อนเตรียมวิดีโอกันมาพร้อมดีค่ะ

ประเมินอาจารย์ : อาจารย์แนะนำการวิธีการจัดกิจกรรมได้เข้าใจง่าย และเป็นกันเองดีคะ


วันพุธที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561

Learning log 9



วันที่  24  ตุลาคม 2561


  Learning  log 9 


     สำหรับวันนี้อาจารย์ได้อธิบายรายละเอียดการจัดกิจกรรมทางวิทยาศาสตร์ให้กับเด็ก ควรคำนึงถึง
1. สาระที่ควรเรียนรู้
2. ประสบการณ์เรียนรู้ (รอบตัวเด็ก สิ่งแวดล้อมรอบตัวเด็ก บุคคลและสถานที่และธรรมชาติรอบตัว)

และอาจารย์ได้ให้เพื่อนที่อัดวีดีโอการทดลองบ้านนักวิทย์น้อย  ดังนี้


กิจกรรมที่16 ปริมาณน้ำในแก้วเท่ากันหรือไม่



ขั้นตอนการทำกิจกรรม

1. หาภาชนะที่มีขนาดแตกต่างกัน 3 ขนาด
2. ใส่น้ำลงไปในภาชนะทั้ง 3 ขนาด โดยใช้แก้วตวงน้ำเป็น 1 แก้วเท่านั้น
3. ให้สังเกตการเปลี่ยนแปลง


สรุปการทดลอง น้ำในภาชนะทุกใบมีปริมาณน้ำที่เท่ากันเพราะน้ำในแก้วที่เทใส่ภาชนะเป้นขนาดเดียวกัน


กิจกรรมที่17 ลูกข่างหลากสี




ขั้นตอนการทำกิจกรรม

1. ตัดกระดาษเป็นรูปวงกลม ติดรูปปิงปองให้อยู่จุดศูนย์กลางของแผ่นวงกลม
2. ตกแต่งระบายสีบนแผ่นวงกลมให้สวยงาม
3. ทดลองเล่นและให้เด็กๆสังเกตสีที่อยู่บนแผ่นวงกลมว่าเห็นสีอะไร

สรุปการทดลอง  เมื่อหมุนลูกข่างหลากสีแล้วจะเห็นเพียงสามสี ที่เป็นแม่สีเท่านั้น


กิจกรรมที่18 เครื่องชั่งน้ำหนักจากไม้แขวนเสื้อ




ขั้นตอนการทำกิจกรรม 

1. นำไม้แขวนเสื้อมา 1 ไม้แล้วนำแก้วน้ำผูกติดกับไม้แขวนเสื้อทั้งสองฝั่ง
2. นำสิ่งของทั้งสองอย่างที่มีขนาดน้ำหนักแตกต่างกันใส่ลงไปในแก้วน้ำทั้งสองฝั่ง
3. สังเกตการเปลี่ยนแปลงของแก้วน้ำว่าวางเบี่ยงไปทางไหนมากที่สุด

สรุปการทดลอง  สิ่งของทุกอย่างมีน้ำหนักที่แตกต่างกันไป


กิจกรรมที่ 19 เรือแรงลม




ขั้นตอนการทำกิจกรรม 

1. นำถ้วยโฟมมาเจาะรูวงกลมตรงกลาง
2. จากนั้นนำแกนกระดาษทิชชู่มาติดตรงที่เจาะรูไว้
3. ทดลองเป่าลมลงไปตรงรูกระดาษทิชชู่


สรุปการทดลอง เมื่อเป่าลมเข้าไปในรูทำให้เรือเคลื่อนที่ได้ เพราะแรงดันจากลมที่เป่า






  

วันพุธที่ 17 ตุลาคม พ.ศ. 2561

Learning log 8


วันที่ 17 ตุลาคม 2561

Learning log 8

    การเรียนวันนี้ อาจารย์ได้ให้นักศึกษาทำโครงการร่วมกัน โดยร่างแผนของโครงการขึ้นมา มีกิจกรรมของแต่ละกลุ่มมาจัดในโครงการ เพื่อนำไปจัดกิจกรรมให้กับเด็กๆ

การเขียนโครงการ

1. ชื่อโครงการ

2. หลักการ,เหตุผล

3. งบประมาณ/สถานที่

4. ตารางการทำกิจกรรม

5. การประเมินผล






ประเมินตนเอง : วันนี้ดิฉันไปช่วยอาจารย์ยกของขึ้นมาห้องเรียน และไปตรงตามเวลาคะ

ประเมินเพื่อน : เพื่อนตั้งใจทำกิจกรรมดีคะ ให้ความร่วมมือกันดี

ประเมินอาจารย์ : อาจารย์ให้คำแนะนำนักศึกษาในแต่ละกลุ่มที่ทำกิจกรรม เพื่อให้นักศึกษาได้ปรับแก้ไขได้ไว



วันพุธที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2561

Learning log 7

วันที่ 10 ตุลาคม 2561


Learning log 7 

    การเรียนวันนี้เป็นการนำเสนอกิจกรรมการทดลองบ้านนักวิทย์ของนักศึกษาต่อจากสัปดาห์ที่แล้ว  โดยมีอาจารย์คอยให้คำแนะนำอยู่ตลอดการทำกิจกรรม
    

กิจกรรมที่11 ลูกโป่งจากฟองสบู่



ขั้นตอนการทำกิจกรรม  

การทดลองโป่งฟองสบู่

1. นำน้ำหนึ่งส่วนสี่เทและน้ำยาล้างจานห้าช้อนโต๊ะผสมกันให้เข้ากัน

2. นำลวดมาทำเป็นรูปต่างๆแล้วพันด้วยกำมะหยี่

3. จากนั้นนำลวดที่พันกำมะหยี่เสร็จแล้วจุ่มลงไปในน้ำยาล้างจานที่ผสมไว้แล้วใช้ปากเป่าลมเบาๆ

สรุปการทดลอง เมื่อเป่าออกมาแล้วเกิดเป็นฟองอากาศกลมๆลอยอยู่ เนื่องจากอากาศได้ดันผิวของฟองสบู่ให้ไปด้านหน้าจึงทำให้ฟองอากาศเป็นทรงกลมและลอยได้


กิจกรรมที่12 ลูกโป่งพองโต 



ขั้นตอนการทำกิจกรรม  

1. นำผงฟูใส่ลงไปในลูกโป่งตามต้องการ

2. เทนำส้มสายชูลงไปในขวดเปล่าครึ่งขวดแล้วนำลูกโป่งไปครอบปากขวดให้ผงฟูลงไปในขวด

3.จับปากลูกโปงกับปากขวดให้แน่นอากาศก็จะทำให้ลูกโป่งพองขึ้น

สรุปการทดลอง  ลูกโป่งพองขึ้น เนื่องจากผงฟูและนำส้มทำปฏิกิริยากันแล้วเกิดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ขึ้นแล้วดันผิวของลูกโป่งให้พอง


กิจกรรมที่13 การแยกเกลือและพริกไทย





ขั้นตอนการทำกิจกรรม  

1. นำเกลือและพริกไทยเทลงในจานใบเดียวกัน

2. นำช้อนพลาสติกมาถูกับผ้า

3. สังเกตว่าเกิดอะไรขึ้น

สรุปการทดลอง ช้อนดูดพริกไทยขึ้นมาจากเกลือ เนื่องช้อนเมื่อถูกับผ้าแล้วทำให้เกิดขั้วลบบวก จึงทำให้พริกไทยติดช้อนขึ้นมา


กิจกรรมที่14  ภาพซ้ำไปมา





ขั้นตอนการทำกิจกรรม  

1. วาดภาพระบายสีแล้วตัดเป็นรูปนก

2. นำรูปนกมาเรียงต่อกัน

สรุปการทดลอง  ได้ฝึกการต่อภาพให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน


กิจกรรมที่15 ระฆังดำน้ำ




ขั้นตอนการทำกิจกรรม  

1. นำเรื่อกระดาษวางไว้ในถ้วยพลาสติกใบเล็กแล้วนำลงไปวางในแก้วน้ำ

2. นำขวดที่ตัดครึ่งฝั่งที่มีฝา ปิดฝาให้สนิทและนำมาครอบเรือกระดาษ

3. กดขวดน้ำที่ครอบเรือกระดาษลงไปในนำแล้วสั่งเกต 

สรุปการทดลอง  เมื่อกดขวดน้ำลงไปเรือจะไม่เปียก เนื่องจากมีอากาศอยู่ภายในขวด


ประเมินตนเอง : สำหรับการเรียนวันนี้ดิฉันตั้งใจดูเพื่อนๆนำเสนอกิจกรรมคะ และจดบันทึก

ประเมินเพื่อน : เพื่อนนำเสนอกิจกรรมการทดลองได้ดีคะ

ประเมินอาจารย์ : อาจารย์คอยให้คำแนะนำตลอดการนำเสนอและแทรกคำถามให้นักศึกษาได้คิดบ่อยๆคะ 




วันศุกร์ที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2561

Learning log 6


วันที่ 3 ตุลาคม 2561

Learning log 6 

    สำหรับการเรียนวันนี้เป็นการนำเสนอ กิจกรรมบ้านนักวิทย์ ของนักศึกษา นักศึกษาก็จะมีการเตรียมอุปกรณ์ที่จะใช้ในกิจกรรมของตนเองมาเพื่อนำเสนอ โดยที่มีอาจารย์คอยให้คำแนะนำระหว่างที่นักศึกษานำเสนอการทำกิจกรรมบ้านนักวิทย์

  การจัดวางอุปกรณ์ที่ใช้ในการทดลอง

1. ควรวางอุปกรณ์เรียงด้านหน้าเพื่อให้เด็กๆเห็นได้ชัดเจน
2. ถามอุปกรณ์เพื่อให้เด็กได้มีส่วนร่วม

  กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ 
 การเรียนวิทยาศาสตร์เป็นการเรียนการแก้ปัญหาอย่างมีเหตุผล  ซึ่งเรียกว่ากระบวนการทางวิทยาศาสตร์เด็กปฐมวัยสามารถเรียนรู้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ได้โดยครูกับเด็กช่วยกันคิดและปฏิบัติเป็นกระบวนการเริ่มจากขั้นที่  1  ถึงขั้นที่  5  ดังนี้

ขั้นที่  1  กำหนดขอบเขตของปัญหา  ครูกับเด็กร่วมกันคิดตั้งประเด็นปัญหาสิ่งที่ต้องการเรียนรู้ร่วมกัน เช่น  ต้นไม้โตได้อย่างไร
ขั้นที่  2  ตั้งสมมุติฐาน  เป็นขั้นของการวางแผนร่วมกัน  ในการที่จะทดลองหาคำตอบจากการคาดเดาล่วงหน้าว่า  ถ้า.......จะเกิด......เป็นต้น
ขั้นที่  3  ทดลองและเก็บข้อมูล  เป็นขั้นตอนที่ครูกับเด็กร่วมกันดำเนินการตามแผนการทดลองตามสมมุติฐานที่ตั้งไว้ในข้อ  2
ขั้นที่  4  วิเคราะห์ข้อมูล  ครูและเด็กนำผลการทดลองมาสนทนา อภิปรายแลกเปลี่ยนความคิดเห็นร่วมกัน เช่น  ทำไมต้นไม้ปลูกพร้อมกันจึงโตไม่เท่ากัน
ขั้นที่  5  สรุปผลคำตอบสมมุติฐาน  ว่าผลที่เกิดคืออะไร  เพราะอะไร  ทำไม  ถ้าเด็กต้องการศึกษาต่อจะกลับมาเรียนขั้นที่  1  ใหม่  แล้วต่อเนื่องไปถึงขั้นที่  5  เป็นวงจรของการขยายการเรียนรู้


กิจกรรมที่1 ปั้มขวด ลิปเทียน



ขั้นตอนการทำกิจกรรม
การทดลองปั้มขวด
1. นำน้ำร้อนเทใส่ลงไปในขวดแล้วปิดฝาเขย่า
2. เทน้ำผสมสีไว้ที่มีอุณหภูมิปกติลงในจาน
3. เปิดฝาขาดน้ำร้อนเทน้ำออก แล้วคว่ำขวดลงในจานสี
สรุปการทดลอง น้ำเข้าไปอยู่ในขวดในระดับสูง เนื่องจากอุณภูมิเย็นลงจึงกระทันหันจึงทำให้อากาศในขวดลอยขึ้นไปอยู่ด้านบนจึงทำให้น้ำเข้าไปแทนที่
การทดลองลิปเทียน
1. เทน้ำผสมสีลงในจาน
2. จุดเทียนวางไว้ในจาน
3. นำแก้วมาครอบเทียน
สรุปการทดลอง เทียนที่จุดไว้ดับเมื่อนำแก้วมาครอบเทียน เนื่องจากข้างในแก้วไม่มีอาการศจึงทำให้เทียนดับ

กิจกรรมที่2 เมล็ดถั่วเต้นระบำ


ขั้นตอนการทำกิจกรรม

1. ใส่ถั่วเขียวลงไปในแก้วใบที่1 ตวงด้วยช้อน 2 ช้อน

2. ใส่ถั่วเขียวลงไปในแก้วใบที่2 เท่ากับใบที่1

3. เทน้ำเปล่าลงในแก้วใบที่1

4. เทน้ำโซดาลงในแก้วใบที่สอง แล้วสังเกตแก้วทั้งสองใบ

สรุปการทดลอง แก้วใบที่1เมล็ดถั่วลงไปกองอยู่ด้านล่าง แก้วใบที่2 เมล็ดถั่วลอยขึ้นลง เนื่องจากโซดามีความซ่าและมีอากาศอยู่ในน้ำจึงทำให้เมล็ดถั่วลอยขึ้นลงเต้นระบำ

กิจกรรมที่3 แรงตึงผิวของน้ำ 



ขั้นตอนการทำกิจกรรม

1. เทน้ำใส่ลงไปในแก้วให้เต็ม

2. ค่อยหยดน้ำเติมลงไปจนเกิดน้ำนูนสูงขึ้น

สรุปการทดลอง น้ำนูนสูงขึ้นไม่ล้นออกมา เนื่องจากน้ำมีความตึงผิวอยู่

กิจกรรมที่4 แสงสีและการมองเห็น 


ขั้นตอนการทำกิจกรรม

1. นำแก้วที่มีรวดลายใบที่1และ2วางบนโต๊ะในระดับต่างกัน

2. นำไฟฉายส่องไปที่แก้วใบที่1และ2พร้อมกัน ให้สะท้อนกับผนัง

3. สังเกตว่าแก้วใบไหนมีขนาดเงาที่ใหญ่กว่ากันระหว่างใบที่1และใบที่2

สรุปการทดลอง แก้วใบที่1เกิดเงาที่ใหญ่กว่าใบที่2 เนื่องจากแก้วใบที่1อยู่ใกล้แสงมากกว่าแก้วใบที่2

กิจกรรมที่5 การสะท้อน



ขั้นตอนการทำกิจกรรม

1. วาดรูปหัวใจในกระดาษเพียงครึ่งเดียว

2. นำไปส่องกับกระจก วางภาพกับกระจกให้ตั้งฉากกัน

สรุปการทดลอง เกิดภาพหัวใจเต็มรูป เนื่องจากเกิดการสะท้อนของกระจกที่ตรงข้ามกันทำให้เกิดภาพสมบูรณ์

กิจกรรมที่6 ไหลแรงหรือไหลค่อย



ขั้นตอนการทำกิจกรรม

1. นำขวดนำมาเจาะรู2รู รูที่1กลางขวด รูที่2ใกล้ก้นขวด

2. นำเทปใสมาปิดทั้งสองรู

3. เติมน้ำลงในขวดให้เต็มแล้วดึงเทปออก

4. สังเกตน้ำว่ารูไหนไหลแรงไหลค่อย

สรุปการทดลอง น้ำที่อยู่รูด้านล่างจะไหลออกได้แรงกว่า เนื่องเมื่ออากาศเข้าไปด้านในจึงทำให้น้ำรูด้านล่างไหนแรงกว่ารูด้านบน

กิจกรรมที่7 ดินน้ำมันสู่ปราสาท



ขั้นตอนการทำกิจกรรม

1. ปั้นดินน้ำมันให้กลมแล้วบีบให้เป็นสี่เหลี่ยม

2. ใช้เส้นด้ายตัดดินน้ำมันก็จะได้สี่เหลี่ยมด้านเท่า หรือสี่เหลี่ยมผืนผ้า

3. ปั้นดินน้ำมันรูปใดก็ได้ตามใจชอบแล้วใช้เส้นด้ายตัด จะได้รูปที่แตกต่างกันไป

4. น้ำรูปที่ได้ไปทับสีแล้วนำมาปั้มลงในกระดาษได้

สรุปการทดลอง เมื่อนำเส้นได้มาตัดดินน้ำมันจะทำให้รูปที่ได้รูปใหม่  เนื่องจากด้านในถูกอัดด้วยการบ้านที่เน้น และเส้นด้ายมีขนาดบางจึงทำให้เวลาตัดไม่เกิดการเบี้ยวหรือผิดรูป


กิจกรรมที่8 ท่วงทำนองตัวเลข




ขั้นตอนการทำกิจกรรม 
1. ตัดกระดาษเป็นสี่เหลี่ยมจตุรัสแล้วพับทั้งสี่มุมให้เท่ากันทุกด้าน
2. พลิกอีกด้านแล้วพับทั้งสี่มุมเป็นสามเหลี่ยมให้เท่ากัน
3. ระบายสีให้สวยงาม และจับเป็นทรงเอานิ้วสอดกระดาษเพื่อเล่น
สรุปการทดลอง เมื่อเล่นไปตามจำนวนตัวเล่น จะมีบางตัวเลขที่อาจจะลงสีที่แตกต่างกัน หรือสีเหมือนกัน

กิจกรรมที่9 พับและตัด




ขั้นตอนการทำกิจกรรม

1. พับกระดาษแบ่งครึ่งให้เท่ากัน เทสีลงในกระดาษนิดหน่อย แล้วปิดกระดาษจากนั้นเอาหนังสือทับไว้

2. เทสีลงกลางกระดาษแล้วเอาเส้นด้ายใส่ตามแนวยาวจากนั้นปิดกระดาษลงแล้วเอาหนังสือทับไว้

3. ดึงเส้นได้ออกตามแนวขวางของกระดาษ

สรุปการทดลอง  เกิดรูปต่างๆ เนื่องจากเส้นด้ายได้ทำการกระจายสีเวลาดึงออก



กิจกรรมที่10 แสงสีและการมองเห็น




ขั้นตอนการทำกิจกรรม
1. วาดรูปวงกลมลงในกระดาษ โดยใช้สี ดำ แดง เขียว 
2. นำแผ่นใสสี ดำ แดง เขียว มาทาบบนกระดาษที่ละแผ่น
สรุปการทดลอง เมื่อวางแผ่นใสสีลงบนกระดาษทำให้มองไม่เห็นสีที่เป็นสีเดียวกับรูปสีที่วาดลงในกระดาษ เนื่องจากแผ่นสีและรูปสีถูกกลมกลืนกันจึงทำให้มองไม่เห็นแต่เห็นรูปที่มีสีอื่น

ประเมินตนเอง : วันนี้ดิฉันมาสองคนแรกของห้องตรงตามเวลา และรับฟังคำแนะนำของอาจารย์ตอนที่ออกไปทำกิจกรรมที่เตรียมมาอย่างตั้งใจและนำไปปรับใช้คะ

ประเมินเพื่อน : วันนี้เพื่อนค่อยข้างขาดเรียนเยอะคะ แต่เพื่อนที่มาก็ตั้งใจนำเสนอและเตรียมตัวกันมาดีคะ

ประเมินอาจารย์ : อาจารย์ให้คำแนะนำเวลานักศึกษาออกไปนำเสนอทุกคนเลยคะ สอนการวางอุปกรณ์และพูดอธิบายประกอบด้วยคะทำให้เข้าใจกิจกรรมได้มากขึ้น

วันพุธที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2561

Learning log 5



  วันที่ 19 กันยายน 2561


                                        Learning  log 5


    สำหรับการเรียนวันนี้ได้เรียนเรื่องการทำการทดลองวิทยาศาสตร์ให้กับเด็กปฐมวัย โดยอาจารย์ได้ให้นักศึกษาแบ่งกลุ่มละ 5 คน และให้ใบความรู้มากลุ่มละ 5 ใบ ซึ่งนักศึกษาจะได้ใบความรู้กันคนละ 1 ใบ  และต้องอ่านทำความเข้าใจ และเขียนสรุป
 
อาจารย์ได้มอบหมายงานให้นักศึกษาไปหาฝาขวดน้ำมาคนละ 1 ฝา หลังจากที่ทุกคนได้ฝาครบแล้ว อาจารย์จึงบอกโจทย์การทำงาน คือ ให้ทำของเล่นจากฝาน้ำ  ที่เกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์ คนละ 1 อย่าง และให้ทำในเวลานั้นเลย นักศึกษาตื่นเต้นกับการทำงานในครั้งนี้ ทุกคนดุสนุกสนาน กระตือรือร้นกันทุกคน การเรียนครั้งนี้จึงทำให้ห้องเรียนสนุกสนาน ครึกครื้น และได้ลงมือทำ




                                         ไหลแรงหรือค่อย (เรื่องน้ำ)


สิ่งที่พบเห็นในชีวิตประจำวัน

    เด็กๆสามารถเรียนรู้เกี่ยวกับปรากฏการณ์เรื่องความดันน้ำได้หลายวิธี  เช่น  เมื่อเปิดก๊อกให้น้ำไหลออกจากถังเก็บในที่สูงๆน้ำจะค่อยๆไหลจากที่สูงลงสู่ที่ต่ำด้วยความโน้มถ่วงของโลกหลายคนคงเคยเห็นถังเก็บน้ำประปาซึ่งตั้งไว้ที่สูงเพื่อให้มีความดันน้ำมากพอที่จะไหลผ่านท่อไปยังก๊อกน้ำได้  หรือบางคนคงเคยดำน้ำแล้วรู้สึกว่ามีความดันอยู่ในหู จนทำให้หูอื้อ



ภาพรวมการทดลอง

    อธิบายเรื่องแรงดันของน้ำที่มีความดันเพิ่มขึ้น  เมื่อดำลงไปลึกและเมื่อปล่อยน้ำลงจากบริเวณที่สูง  ให้เด็กๆเจาะขวดพลาสติกที่บรรจุน้ำอยู่เต็ม  ถ้าเจาะรูใกล้ก้นขวดมากน้ำจะยิ่งไหลแรงและน้ำจะไหลออกจากรูที่เจาะไว้ก็ต่อเมื่อมีอากาศเข้ามาแทนที่น้ำในเวลาเดียวกัน



วัสดุอุปกรณ์

สำหรับการทดลองรวม

-  เทปกาวใสและกรรไกร

-  เข็มหมุดติดบอร์ด หรือตะปูตัวเล็ก (ระวังอันตรายจากปลายแหลมของเข็มหมุดและตะปู)

-  ปากกาเมจิกกันน้ำ

สำหรับเด็กแต่ละคนหรือหลายคน

-  ขวดน้ำพลาสติกขนาดใหญ่ 1 ใบ

-  กะละมังพลาสติก 1 ใบ

-  กาน้ำหรือถ้วยตวงบรรจุน้ำเต็ม 1 ใบ

-  กรวย 1 อัน

สำหรับทำการทดลองเพิ่มเติม

-  ฝาปิดพลาสติก

-  ไม้จิ้มฟัน (ระวังอันตรายจากปลายแหลม)



แนวคิดหลักการทดลอง

     น้ำมีแรงดัน  ที่บริเวณน้ำลึกจะมีความดันมากกว่าที่น้ำตื้นการไหลของน้ำจะเกิดขึ้นได้จะต้องมีอากาศเข้าไปแทนที่
   ดังนั้นถ้าภาชนะปิดรูหมดมีรู  1 รู น้ำก็จะไม่สามารถไหลออกมาจากรู้ได้



เริ่มต้นจาก

     - ยกตัวอย่างหรือกล่าวถึงเรื่องที่เกี่ยวกับแรงดันน้ำเพื่อโยงเข้าสู่การทดลอง  เช่น  อภิปรายเกี่ยวกับถังเก็บน้ำประปามีวิธีการทำงานอย่างไร  ทำไมถังเก็บน้ำต้องตั้งอยู่ในที่สูงเสมอ  หรือพาไปดูถังเก็บน้ำต้องตั้งอยู่บริเวณใกล้เคียง  จะทำให้เด็กรู้สึกตื่นเต้นและอยากรู้ว่าน้ำประปาไหลเข้ามาในบ้านได้อย่างไร

-  สำหรับการทดลอง  ขั้นแรก  ให้เด็กๆลอกฉลากบนขวดน้ำออก

-  หลังจากนั้นใช้เข็มหมุดหรือตะปูตัวเล็กเจาะรูขวดน้ำอย่างน้อย  2 รู โดยให้รูแรกอยู่ใกล้ก้นขวด  และรูที่สองอยู่กลางขวด   บริเวณที่เจาะรูควรใช้ปากกาเมจิกกันน้ำทำสัญลักษณ์ไว้เพื่อให้เห็นง่าย



ทดลองต่อไป

-  ใช้เทปกาวใสขนาดยาวพอควรปิดทับรูทั้งหมดที่เจาะไว้บนขวด 

-  นำขวดน้ำไปวางในกะละมังพลาสติกและเทน้ำผ่านกรวยลงไปในขวดให้เต็ม

อาจวางกรวยพักไว้ที่ขวดสำหรับเติมน้ำภายหลัง

-  ไม่ต้องปิดฝาขวดน้ำ

-  ถามเด็กๆว่าเมื่อดึงเทปกาวออก  น้ำจะไหลออกจากรูไหนแรงที่สุด

-  ให้เด็กๆใช้มือหนึ่งจับขวดไว้  ส่วนอีกมือดึงเทปกาวใสออกอย่างระมัดระวัง  ไม่ให้ขวดล้ม 



เกิดอะไรขึ้น

           น้ำจะไหลจากรูด่างล่างแรงกว่ารูด้านบน เพื่อให้มีเวลาสังเกตการทดลองได้นานขึ้นให้เติมน้ำใส่ขวดตลอดเวลา
             บางครั้งน้ำอาจไม่ไหลออกมาเป็นสาย แต่ไหลลงมาตามด้านข้างขวดน้ำ ให้เด็กๆใช้นิ้วกดปิดรูนั้นสักครู่แล้วปล่อย น้ำจะไหลออกมาเป็นสายเหมือนเดิม หรือทำให้ขวดแห้งและติดเทปกาวปิดรูใหม่ (บางทีอาจต้องขยายรูให้ใหญ่ขึ้น และเปลี่ยนเทปกาวใส)



คำแนะนำ

            อาจใช้ขวดหลายใบที่ขนาดต่างๆกันในการทดลอง แต่ละขวดเจาะรูเพียง 1 รู  โดยให้ความสูงของรูที่เจาะแต่ละขวดไม่เท่ากัน
    แล้วใช้เทปกาวใสหรือไม้จิ้มฟันปิดรูไว้  หลังจากนั้นให้เด็กช่วยกันดึงเทปกาวของแต่ละขวดออกพร้อมกัน เปรียบเทียบความแรงของน้ำที่ไหลออกมา หลังจากนั้นให้ทดลองดูว่าจะเกิดอะไรขึ้นเมื่อใช้มือบีบขวด
            นอกจากนี้ยังมีการทดลองที่น่าสนใจอีกแบบหนึ่งคือ ให้เด็กๆนำฝามาปิดขวด น้ำจะไหลออกจากรูด้านล่างตามปกติ แต่ไม่ไหลออกจากรูด้านบน   จากนั้นใช้นิ้วโป้งอุดรูด้านบน น้ำจะไม่ไหลออกจากรูด้านล่างอีก


ทำไมเป็นเช่นนั้น

          น้ำประกอบด้วยโมเลกุลจำนวนมากซึ่งมีน้ำหนัก ยิ่งโมเลกุลซ้อนทับกันจำนวนมาก  น้ำหนักที่กดลงด้านล่างยิ่งมากขึ้นเพื่อให้ภาพชัดเจน  ให้เด็กที่แข็งแรงที่สุดนอนราบกับพื้นหรือนั่งอยู่บนเก้าอี้ แล้วให้เด็ก 1-2 คนนอนหรือนั่งทับจะพบว่าแรงที่กดทับเด็กคนแรกจะมาก
ความดันน้ำเพิ่มขึ้นเมื่อมีความลึกมากขึ้น  เป็นผลให้น้ำที่ไหลออกจากรูด้านล่างไหลแรงกว่ารูด้านบน
ในการดำน้ำนั้นสามารถรู้สึกถึงความกดดันจากน้ำหนักของน้ำได้  โดยเยื่อแก้วหูจะถูกกดด้วยความดันน้ำและอาจเป็นอันตรายจนแก้วหูฉีกได้
ถังเก็บน้ำประปาสำหรับแจกจ่ายน้ำผ่านท่อไปยังบ้านเรือนจึ้งตั้งไว้ในที่สูงเพื่อให้มีความดันมากพอ
ในการทดลองที่นำฝามาปิดขวดน้ำและใช้นิ้วปิดรูด้านบนทำให้น้ำไม่ไหลออกจากรูด้านล่างนั้น  เพราะว่าอากาศไม่สามารถแทรกเข้าไปในขวดได้  ทำให้ความดันอากาศภายในขวดต่ำ  ซึ่งเป็นอุปสรรคต่อการไหลของน้ำ  การที่จะทำให้ความดันอากาศภายในขวดเพื่อแทนที่น้ำ  ซึ่งจะผ่านเข้ามาทางรูด้านบนของขวด  เนื่องจากมีแรงดันน้ำต่ำกว่าบริเวณรูด้านล่าง  เมื่ออากาศเข้ามาในขวดได้  น้ำจะไหลออกจากรูด้านล่างอีกครั้ง


ของเล่นจากวัสดุเหลือใช้   (ฝาน้ำ)

วัสดุอุปกรณ์ 

- ขวดเปล่า 1 ขวด

- กรรไกร/คัตเตอร์

- กาวติดพลาสติก 

- ฝาน้ำ

- ปากกาเมจิกกันน้ำ

- อุปกรณ์ตกแต่ง เช่น ตาปลอม , กระดุม


ขั้นตอนการทำ  

- เอาขวดเปล่มาล้างน้ำให้สะอาด

- ถอดฝาน้ำออก แล้วนำมาเจาะรูที่ฝา 2 รู 

- ตกแต่งนำช้อนพลาสติดมาติดเป็นหู และแปะกระดุมเป็นตาสองข้าง


วิธีการเล่น  

ใส่น้ำเข้าไปในขวดให้เต็ม แล้วปิดฝาที่เป็นรูให้แน่น พอเราบีบตรงกลางขวด น้ำก็จะออกมาเป็นปืนฉีดน้ำ ทีนี้ก็ได้เวลามาเล่นสนุกคลายร้อนกับเจ้าตัวเล็กกันแล้ว





 


    


 



ประเมินตนเอง : ดิฉันตั้งใจฟังเวลาอาจารย์สอนหรือสั่งงานคะ

ประเมินเพื่อน : เพื่อนตั้งใจทำงานดีคะ และตั้งใจเรียนดี

ประเมินอาจารย์ : อาจารย์สอนวันนี้ได้สนุกดีคะ ในการเรียนมีหลากหลาย เป็นการได้มือทำจริงและงานที่ทำก็สามารถทำได้จริงในเวลาสั้นๆ ไม่ใช่งานชิ้นใหญ่ หรือยากเกินไปที่ต้องใช้เวลาทำนานๆ แต่งานในครั้งนี้เป็นงานชิ้นเล็กที่สามารถทำได้จริง สร้างความสนุกสนานในบรรยากาศห้อเงรียน และได้รับประสบการณ์ตรงจากการทำจริงคะ